ประสบการณ์ด้านกระบวนการหมักแบบไร้อากาศสำหรับของเสียที่มีความเข้มข้นของแข็งสูง



   ทีมงานของไบโอทริคมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบก๊าซชีวภาพสำหรับของเสียที่มีความเข้มข้นของแข็งสูงมาตั้งแต่ต้นยุค 1980 แม้ของแข็งที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพนี้จะให้ปริมาณก๊าซชีวภาพต่อตันมากกว่าของเหลว แต่ก็ต้องอาศัยกระบวนการทางวิศวกรรมและชีวเคมีที่ซับซ้อนกว่าในการจัดการเช่นกัน

ทีมงานของไบโอทริคได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของของเสียเหล่านี้มาตลอด 30 ปีที่ ทั้งที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตร หญ้า ขยะมูลฝอย อาหารสัตว์ กากตะกอน เศษผลไม้ สมุนไพร อาหาร และเศษซากจากโรงงานมันสำปะหลังและเอทานอล

ไบโอทริคมีประสบการณ์ด้านการออกแบบระบบหลากหลายประเภท ทั้งในขนาดเล็กและใหญ่ เช่น ระบบ FLR (Flexible liner reactor) ไบโอทริคสามารถเสนอระบบรูปแบบต่าง ๆ ให้ตรงตามความต้องการของคุณ สอบถามไบโอทริคเกี่ยวกับบริการของเรา ซึ่งมีตั้งแต่การตรวจสอบของเสีย, การวิจัย, โรงงานต้นแบบ และระบบเต็มรูปแบบได้


รายละเอียดโครงการ
พัฒนาระบบการหมักแบบไร้อากาศที่ใช้ความเข้มข้นของของแข็งสูงและประยุกต์ใช้กับของเสียประเภทต่าง ๆ

โครงการ
ของเสียจากสมุนไพรและหัวเชื้อในออสเตรีย, กากแอปเปิ้ลในสหรัฐฯ, ของเสียจากโรงงานยาในไอร์แลนด์. กากมันสำปะหลังในไทย

ที่ตั้ง
ทั่วโลก

ผู้ว่าจ้าง
รัฐบาลท้องถิ่น, บริษัทเอกชน

ขอบเขตงาน
ออกแบบ, พัฒนา, ทดสอบ, ประเมิน, วางระบบเต็มรูปแบบ

บ่อหมักก๊าซชีวภาพของเสียในฟาร์มสุกรที่ใหญ่ที่สุด ฟาร์ม Hanford สหราชอาณาจักร (1984-1997)



   บ่อหมักขนาด 850 ลูกบาศก์เมตรที่ฟาร์ม Hanford นี้เป็นบ่อหมักขยะจากการเกษตรบ่อแรกในสหราชอาณาจักรและเป็นบ่อที่ใหญ่ที่สุด บ่อหมักนี้ถูกออกแบบโดยด็อกเตอร์เอเธอริดจ์ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารบริษัทไบโอทริค) ในปี 1983 เพื่อบำบัดของเสียจากสุกร 13,000 ตัว (ราว 90 ลูกบาศก์เมตร/วัน เป็นของแข็ง 4.5%) โดยใช้ระยะเวลาเก็บกักของเหลวประมาณ 8-10 วัน แม้ว่าปกติจะใช้เวลาสั้นกว่า

บริษัท CLEAR เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโรงบำบัด แต่ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์กันสนิมที่เหมาะสม แม้ว่าระบบบำบัดจะทำงานได้เป็นปกติ แต่ภายในระยะเวลา 3 ปีหลังติดตั้ง ก็เริ่มมีก๊าซชีวภาพรั่วออกทางหลังคาที่ผุกร่อน (1988/9) ต่อมาทาง Hanford จึงตัดสินใจปูวัสดุ geotechnical membrane ไว้ใต้หลังคาเพื่อกันก๊าซรั่วซึม และสามารถใช้งานได้ไปตลอดอายุของโรงงาน

ก๊าซชีวภาพที่ได้จากการบำบัดถูกกักเก็บไว้ในถังบรรจุก๊าซขนาด 15 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและน้ำร้อนจากเครื่องยนต์ขนาด 45 กิโลวัตต์ สำหรับทำความร้อนให้บ่อหมัก

กลางยุค 1980 รัฐบาลได้ออกโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือในการรับซื้อเชื้อเพลิงที่ไม่ได้ผลิตจากฟอสซิลเป็นครั้งแรก โดยโครงการมีเงื่อนไขว่าบริษัทไฟฟ้าจะต้องซื้อไฟฟ้าจากแหล่งที่ผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงทางเลือกเป็นสัดส่วนตามที่กำหนด โครงการ Non-Fossil Fuel Obligation (NFFO) กำหนดไว้สำหรับเฉพาะโรงงานที่เพิ่งสร้างใหม่ แต่ NFFO ฉบับแรก (NFFO1) อนุญาตให้ระบบที่สร้างไว้แล้วได้เข้าร่วมโครงการด้วย

Hanford เสนอขายไฟฟ้าที่ราคา 6.5 เพนซ์/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งได้รับการอนุมัติเป็นระยะเวลา 10 ปี อัตรานี้สูงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าปกติในช่วงกลางวันซึ่งอยู่ที่ 4.5 เพนซ์/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และยิ่งสูงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าตอนกลางคืนซึ่งขายอยู่ที่ 2.4 เพนซ์/กิโลวัตต์-ชั่วโมง Hanford ขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ในราคาสูงกว่าอัตราปกติมาก

ของแข็งที่ได้จากการหมักถูกแยกออกโดยใช้ตะแกรงสั่นเพื่อทำเป็นวัสดุถมดินขาย ของเหลวที่เหลือซึ่งอุดมไปด้วยไนโตรเจน สามารถสูบผ่านท่อได้ง่าย และมีแทบไม่มีกลิ่นเหม็น สามารถนำไปเก็บและใช้เป็นปุ๋ยได้ในภายหลัง

สัญญาซื้อขายไฟฟ้า NFFO สิ้นสุดลงปี 1999 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ Hanford กำลังพิจารณาปรับปรุงระบบ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสุกรทำเงินได้ไม่ดีนักในช่วงนั้น บริษัทจึงตัดสินใจขายโรงงานอาหารสัตว์ซึ่งอาจต้องใช้ไฟฟ้ามากในอนาคตทิ้ง เมื่อไม่มีเงินสนับสนุนจาก NFFO การผลิตไฟฟ้าเพื่อขายในราคาต่ำลงจึงไม่คุ้มค่าอีกต่อไป ทางบริษัทจึงตัดสินใจปิดโรงบำบัดและหยุดดำเนินการนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นี่คือเนื้อความบางส่วนที่ตัดมาจากบทความ “Biomass and Renewable Energy” (1999) จากหนังสือพิมพ์ Financial Time : “โรงบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศสำหรับของเสียจากสุกรและเศษอาหารในพิดเดิลฮินตัน มณฑลดอร์เซท เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1984 มันผลิตไฟฟ้าได้กว่า 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง/วัน เครื่องกำเนิดไฟฟ้ายังมีความร้อนเหลือใช้เพื่อป้อนให้กับบ่อหมักและอาคารสำนักงานใกล้เคียง ด้วยเงินลงทุนราว 213,000 ปอนด์ และค่าดำเนินการปีละ 15,000 ปอนด์ โรงงานแห่งนี้สามารถคืนทุนได้ก่อนเข้าร่วมโครงการ NFFO และเมื่อเข้าร่วมโครงการ NFFO ราคารับซื้อไฟฟ้าก็ยิ่งสูงขึ้นทำให้โรงงานทำกำไรได้มากขึ้น กากของเสียจากบ่อหมักจะถูกแยกออกแล้วนำไปไถกลบ ในขณะที่ของเหลวจากบ่อหมักจะถูกนำไปโรยหน้าดินเพื่อให้เป็นปุ๋ยต่อไป"

รายละเอียดโครงการ
โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มหมู

โครงการ
โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร

ที่ตั้ง
ในสหราชอาณาจักร

ผู้ว่าจ้าง
ฟาร์ม Hanford

ขอบเขตงาน
ออกแบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

บ่อหมักกลางแบบไร้อากาศสำหรับฟาร์มเลี้ยงสุกร 6 แห่ง เกาะไห่หนาน ประเทศจีน



   การเลี้ยงสุกรเชิงพาณิชย์อาจก่อให้เกิดมลภาวะและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาส ในกรณีนี้คือการผลิตพลังงานทางเลือกอย่าง “ก๊าซชีวภาพ” ในเขตพัฒนาเกษตรกรรมไหโข่ว-หลัวหนิวซาน บนเกาะไห่หนาน ประเทศจีน ฟาร์มเลี้ยงสุกร 8 แห่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันต่างปล่อยน้ำเสียลงในบ่อน้ำเปิด ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งและทำให้แหล่งน้ำสกปรก

ทีมงานของไบโอทริคและ Bronzeoak ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักรให้เข้าไปทำการศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์และเทคนิคในการวางระบบบ่อหมักก๊าซแบบไร้อากาศ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ และเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 350 กิโลวัตต์ ของแข็งที่แยกออกมาจากน้ำเสียสามารถใช้เป็นปุ๋ยและ/หรืออาหารปลาได้

อย่างไรก็ตามเพื่อให้บรรลุประโยชน์เหล่านี้ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการ เช่น การกักเก็บของเสียที่เป็นของแข็งให้ได้มากที่สุดเพื่อนำไปผ่านกระบวนการบำบัดในบ่อหมัก ปัจจุบันของแข็งจากน้ำเสียถูกดักจับและแยกออกก่อนเข้าสู่กระบวนการหมัก ทำให้ผลิตก๊าซได้น้อย


รายละเอียดโครงการ
ประเมิน, ตรวจสอบเทคโนโลยีและรายงานความเป็นไปได้ของโครงการ

โครงการ
ศึกษาเทคโนโลยี ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ของอุตสาหกรรม

ที่ตั้ง
เกาะไห่หนาน ประเทศจีน

ผู้ว่าจ้าง
กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร, กองทุน Climate Change Challenge

ขอบเขตงาน
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและระบบหมักแบบไร้อากาศ

ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานเบียร์และน้ำอัดลม



   บริษัท Hall & Woodhouse Limited เป็นโรงงานเบียร์เก่าแก่ ผู้ผลิตเบียร์ยี่ห้อ Badger Beers, Hofbrau Lager และน้ำอัดลม Panda Soft Drinks น้ำเสียจากกระบวนการทั้งหมดได้รับการบำบัดภายในโรงงานมาตั้งแต่ปี 1986 ก่อนที่จะถูกปล่อยลงท่อน้ำทิ้ง โรงบำบัดน้ำเสียภายในโรงงานถูกปิดไปเมื่อเดือนมกราคม 1991 เพราะมีสภาพผุกร่อนจนไม่สามารถใช้งานได้

ทีมงานของไบโอทริคได้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบเพื่อประเมินลักษณะของน้ำเสียและความเป็นไปได้ในการวางระบบบำบัดใหม่ ต่อมาไบโอทริคจึงได้รับมอบหมายให้ออกแบบโรงบำบัดแบบไร้อากาศขึ้นใหม่ และเป็นผู้รับผิดชอบจัดการโครงการและทดสอบระบบบ่อหมักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรในขณะนั้น (3,300 ลูกบาศก์เมตร) ตัวระบบมีจุดเด่นหลายอย่าง เช่น ระบบปฏิบัติการชนิดปริมาตรแปรเปลี่ยน ระบบทำความร้อน และระบบผสมแบบใหม่

โรงบำบัดสามารถลดค่า COD ในน้ำเสียได้ถึง 97% ในขั้นตอนเดียว โดยลูกค้าเป็นผู้จัดซื้ออุปกรณ์ทั้งหมดเองโดยตรง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากและสามารถคืนทุนอย่างรวดเร็ว โครงการนี้ยังได้รับรางวัลจากประชาคมยุโรปด้านการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่อีกด้วย


รายละเอียดโครงการ
โรงบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม

โครงการ
บ่อหมักแบบไร้อากาศที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ

ที่ตั้ง
แบลนด์ฟอร์ด ฟอรั่ม มณฑลดอร์เซ็ท สหราชอาณาจักร

ผู้ว่าจ้าง
Hall & Woodhouse Limited

ขอบเขตงาน
ประเมินของเสีย, ศึกษาความเป็นไปได้, ออกแบบ, จัดการโครงการ และทดสอบระบบ

โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากเอทานอลของอีเอสเพาเวอร์ 120,000 ลิตรต่อวัน



   ไบโอทริคได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการและบำรุงรักษาโรงบำบัดน้ำเสียจากโรงงานเอทานอลของบริษัทอีเอสพาวเวอร์ เป็นระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งประกอบด้วย บ่อหมักขนาด 35,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 บ่อ, บ่อปรับสภาพแบบไร้อากาศขนาด 70,000 ลูกบาศก์เมตร, โรงบำบัดระบบ SBR แบบใช้อากาศ และถังเก็บน้ำเสียขนาด 80,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง ระบบบำบัดแบบไร้อากาศที่ถูกออกแบบขึ้นมีความซับซ้อนสูง เพราะต้องสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยมีวัตถุดิบเป็นเศษมันสำปะหลัง 210 วัน/ปี และกากน้ำตาล 120 วัน/ปี

ทีมงานของไบโอทริค ซึ่งเป็นผู้ออกแบบโรงบำบัดน้ำเสียเดิม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมยื่นประมูลงานดำเนินการและบำรุงรักษาโรงบำบัดเต็มรูปแบบ ทีมงานของไบโอทริค 15 คนเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถดำเนินงาน ซ่อมบำรุง และจัดการระบบบำบัดได้ตลอด 24 ชั่วโมง/วัน 7 วัน/สัปดาห์ การดำเนินงานเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานทองคำของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยมีการรับประกันผลการดำเนินงานและผลผลิตก๊าซชีวภาพตลอดระยะเวลาดำเนินการภายใต้การดูแลของไบโอทริค

ไบโอทริคได้ติดตั้งระบบจัดการสารสนเทศ ซึ่งทำให้ทีมงานสามารถตรวจสอบข้อมูลรายวันจากนอกสถานที่ได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเทคนิคคอยสนับสนุนผู้จัดการโรงงาน พนักงานของไบโอทริคยังได้รับใบอนุญาตผู้จัดการโรงงานจากสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กระทรวงอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีกด้วย


รายละเอียดโครงการ
โรงบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการใช้อากาศและไร้อากาศในโรงงานผลิตเอทานอล

โครงการ
ดำเนินงาน ซ่อมบำรุง และจัดการระบบบำบัดตลอด 24/7

ที่ตั้ง
จังหวัดสระแก้ว

ผู้ว่าจ้าง
อีเอสพาวเวอร์ / อีเอสไบโอเอ็นเนอร์จี /ES Power / ES Bio Energy

ขอบเขตงาน
ออกแบบโรงบำบัดน้ำเสียเดิม, ดำเนินการและบำรุงรักษาโรงบำบัดน้ำเสียทั้งหมด, Operate