ทีมงานของไบโอทริคมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบก๊าซชีวภาพสำหรับของเสียที่มีความเข้มข้นของแข็งสูงมาตั้งแต่ต้นยุค 1980 แม้ของแข็งที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพนี้จะให้ปริมาณก๊าซชีวภาพต่อตันมากกว่าของเหลว แต่ก็ต้องอาศัยกระบวนการทางวิศวกรรมและชีวเคมีที่ซับซ้อนกว่าในการจัดการเช่นกัน
ทีมงานของไบโอทริคได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของของเสียเหล่านี้มาตลอด 30 ปีที่ ทั้งที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตร หญ้า ขยะมูลฝอย อาหารสัตว์ กากตะกอน เศษผลไม้ สมุนไพร อาหาร และเศษซากจากโรงงานมันสำปะหลังและเอทานอล ไบโอทริคมีประสบการณ์ด้านการออกแบบระบบหลากหลายประเภท ทั้งในขนาดเล็กและใหญ่ เช่น ระบบ FLR (Flexible liner reactor) ไบโอทริคสามารถเสนอระบบรูปแบบต่าง ๆ ให้ตรงตามความต้องการของคุณ สอบถามไบโอทริคเกี่ยวกับบริการของเรา ซึ่งมีตั้งแต่การตรวจสอบของเสีย, การวิจัย, โรงงานต้นแบบ และระบบเต็มรูปแบบได้ |
รายละเอียดโครงการ พัฒนาระบบการหมักแบบไร้อากาศที่ใช้ความเข้มข้นของของแข็งสูงและประยุกต์ใช้กับของเสียประเภทต่าง ๆ โครงการ ของเสียจากสมุนไพรและหัวเชื้อในออสเตรีย, กากแอปเปิ้ลในสหรัฐฯ, ของเสียจากโรงงานยาในไอร์แลนด์. กากมันสำปะหลังในไทย ที่ตั้ง ทั่วโลก ผู้ว่าจ้าง รัฐบาลท้องถิ่น, บริษัทเอกชน ขอบเขตงาน ออกแบบ, พัฒนา, ทดสอบ, ประเมิน, วางระบบเต็มรูปแบบ |
ออกแบบระบบก๊าซชีวภาพไบโอแก๊ส
รับออกแบบโรงงานไบโอแก๊ส โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ ให้คำปรึกษาปรับปรุงเกี่ยวกับการออกแบบระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพทั้งระบบ Biogas factory design mechanical electrical civil and constructions.
ประสบการณ์ด้านกระบวนการหมักแบบไร้อากาศสำหรับของเสียที่มีความเข้มข้นของแข็งสูง
บ่อหมักก๊าซชีวภาพของเสียในฟาร์มสุกรที่ใหญ่ที่สุด ฟาร์ม Hanford สหราชอาณาจักร (1984-1997)
บ่อหมักขนาด 850 ลูกบาศก์เมตรที่ฟาร์ม Hanford นี้เป็นบ่อหมักขยะจากการเกษตรบ่อแรกในสหราชอาณาจักรและเป็นบ่อที่ใหญ่ที่สุด บ่อหมักนี้ถูกออกแบบโดยด็อกเตอร์เอเธอริดจ์ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารบริษัทไบโอทริค) ในปี 1983 เพื่อบำบัดของเสียจากสุกร 13,000 ตัว (ราว 90 ลูกบาศก์เมตร/วัน เป็นของแข็ง 4.5%) โดยใช้ระยะเวลาเก็บกักของเหลวประมาณ 8-10 วัน แม้ว่าปกติจะใช้เวลาสั้นกว่า
บริษัท CLEAR เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโรงบำบัด แต่ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์กันสนิมที่เหมาะสม แม้ว่าระบบบำบัดจะทำงานได้เป็นปกติ แต่ภายในระยะเวลา 3 ปีหลังติดตั้ง ก็เริ่มมีก๊าซชีวภาพรั่วออกทางหลังคาที่ผุกร่อน (1988/9) ต่อมาทาง Hanford จึงตัดสินใจปูวัสดุ geotechnical membrane ไว้ใต้หลังคาเพื่อกันก๊าซรั่วซึม และสามารถใช้งานได้ไปตลอดอายุของโรงงาน ก๊าซชีวภาพที่ได้จากการบำบัดถูกกักเก็บไว้ในถังบรรจุก๊าซขนาด 15 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและน้ำร้อนจากเครื่องยนต์ขนาด 45 กิโลวัตต์ สำหรับทำความร้อนให้บ่อหมัก กลางยุค 1980 รัฐบาลได้ออกโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือในการรับซื้อเชื้อเพลิงที่ไม่ได้ผลิตจากฟอสซิลเป็นครั้งแรก โดยโครงการมีเงื่อนไขว่าบริษัทไฟฟ้าจะต้องซื้อไฟฟ้าจากแหล่งที่ผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงทางเลือกเป็นสัดส่วนตามที่กำหนด โครงการ Non-Fossil Fuel Obligation (NFFO) กำหนดไว้สำหรับเฉพาะโรงงานที่เพิ่งสร้างใหม่ แต่ NFFO ฉบับแรก (NFFO1) อนุญาตให้ระบบที่สร้างไว้แล้วได้เข้าร่วมโครงการด้วย Hanford เสนอขายไฟฟ้าที่ราคา 6.5 เพนซ์/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งได้รับการอนุมัติเป็นระยะเวลา 10 ปี อัตรานี้สูงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าปกติในช่วงกลางวันซึ่งอยู่ที่ 4.5 เพนซ์/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และยิ่งสูงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าตอนกลางคืนซึ่งขายอยู่ที่ 2.4 เพนซ์/กิโลวัตต์-ชั่วโมง Hanford ขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ในราคาสูงกว่าอัตราปกติมาก ของแข็งที่ได้จากการหมักถูกแยกออกโดยใช้ตะแกรงสั่นเพื่อทำเป็นวัสดุถมดินขาย ของเหลวที่เหลือซึ่งอุดมไปด้วยไนโตรเจน สามารถสูบผ่านท่อได้ง่าย และมีแทบไม่มีกลิ่นเหม็น สามารถนำไปเก็บและใช้เป็นปุ๋ยได้ในภายหลัง สัญญาซื้อขายไฟฟ้า NFFO สิ้นสุดลงปี 1999 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ Hanford กำลังพิจารณาปรับปรุงระบบ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสุกรทำเงินได้ไม่ดีนักในช่วงนั้น บริษัทจึงตัดสินใจขายโรงงานอาหารสัตว์ซึ่งอาจต้องใช้ไฟฟ้ามากในอนาคตทิ้ง เมื่อไม่มีเงินสนับสนุนจาก NFFO การผลิตไฟฟ้าเพื่อขายในราคาต่ำลงจึงไม่คุ้มค่าอีกต่อไป ทางบริษัทจึงตัดสินใจปิดโรงบำบัดและหยุดดำเนินการนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นี่คือเนื้อความบางส่วนที่ตัดมาจากบทความ “Biomass and Renewable Energy” (1999) จากหนังสือพิมพ์ Financial Time : “โรงบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศสำหรับของเสียจากสุกรและเศษอาหารในพิดเดิลฮินตัน มณฑลดอร์เซท เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1984 มันผลิตไฟฟ้าได้กว่า 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง/วัน เครื่องกำเนิดไฟฟ้ายังมีความร้อนเหลือใช้เพื่อป้อนให้กับบ่อหมักและอาคารสำนักงานใกล้เคียง ด้วยเงินลงทุนราว 213,000 ปอนด์ และค่าดำเนินการปีละ 15,000 ปอนด์ โรงงานแห่งนี้สามารถคืนทุนได้ก่อนเข้าร่วมโครงการ NFFO และเมื่อเข้าร่วมโครงการ NFFO ราคารับซื้อไฟฟ้าก็ยิ่งสูงขึ้นทำให้โรงงานทำกำไรได้มากขึ้น กากของเสียจากบ่อหมักจะถูกแยกออกแล้วนำไปไถกลบ ในขณะที่ของเหลวจากบ่อหมักจะถูกนำไปโรยหน้าดินเพื่อให้เป็นปุ๋ยต่อไป" |
รายละเอียดโครงการ โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มหมู โครงการ โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร ที่ตั้ง ในสหราชอาณาจักร ผู้ว่าจ้าง ฟาร์ม Hanford ขอบเขตงาน ออกแบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า |
บ่อหมักกลางแบบไร้อากาศสำหรับฟาร์มเลี้ยงสุกร 6 แห่ง เกาะไห่หนาน ประเทศจีน
การเลี้ยงสุกรเชิงพาณิชย์อาจก่อให้เกิดมลภาวะและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาส ในกรณีนี้คือการผลิตพลังงานทางเลือกอย่าง “ก๊าซชีวภาพ” ในเขตพัฒนาเกษตรกรรมไหโข่ว-หลัวหนิวซาน บนเกาะไห่หนาน ประเทศจีน ฟาร์มเลี้ยงสุกร 8 แห่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันต่างปล่อยน้ำเสียลงในบ่อน้ำเปิด ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งและทำให้แหล่งน้ำสกปรก
ทีมงานของไบโอทริคและ Bronzeoak ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักรให้เข้าไปทำการศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์และเทคนิคในการวางระบบบ่อหมักก๊าซแบบไร้อากาศ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ และเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 350 กิโลวัตต์ ของแข็งที่แยกออกมาจากน้ำเสียสามารถใช้เป็นปุ๋ยและ/หรืออาหารปลาได้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้บรรลุประโยชน์เหล่านี้ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการ เช่น การกักเก็บของเสียที่เป็นของแข็งให้ได้มากที่สุดเพื่อนำไปผ่านกระบวนการบำบัดในบ่อหมัก ปัจจุบันของแข็งจากน้ำเสียถูกดักจับและแยกออกก่อนเข้าสู่กระบวนการหมัก ทำให้ผลิตก๊าซได้น้อย |
รายละเอียดโครงการ ประเมิน, ตรวจสอบเทคโนโลยีและรายงานความเป็นไปได้ของโครงการ โครงการ ศึกษาเทคโนโลยี ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ของอุตสาหกรรม ที่ตั้ง เกาะไห่หนาน ประเทศจีน ผู้ว่าจ้าง กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร, กองทุน Climate Change Challenge ขอบเขตงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและระบบหมักแบบไร้อากาศ |
ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานเบียร์และน้ำอัดลม
บริษัท Hall & Woodhouse Limited เป็นโรงงานเบียร์เก่าแก่ ผู้ผลิตเบียร์ยี่ห้อ Badger Beers, Hofbrau Lager และน้ำอัดลม Panda Soft Drinks น้ำเสียจากกระบวนการทั้งหมดได้รับการบำบัดภายในโรงงานมาตั้งแต่ปี 1986 ก่อนที่จะถูกปล่อยลงท่อน้ำทิ้ง โรงบำบัดน้ำเสียภายในโรงงานถูกปิดไปเมื่อเดือนมกราคม 1991 เพราะมีสภาพผุกร่อนจนไม่สามารถใช้งานได้
ทีมงานของไบโอทริคได้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบเพื่อประเมินลักษณะของน้ำเสียและความเป็นไปได้ในการวางระบบบำบัดใหม่ ต่อมาไบโอทริคจึงได้รับมอบหมายให้ออกแบบโรงบำบัดแบบไร้อากาศขึ้นใหม่ และเป็นผู้รับผิดชอบจัดการโครงการและทดสอบระบบบ่อหมักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรในขณะนั้น (3,300 ลูกบาศก์เมตร) ตัวระบบมีจุดเด่นหลายอย่าง เช่น ระบบปฏิบัติการชนิดปริมาตรแปรเปลี่ยน ระบบทำความร้อน และระบบผสมแบบใหม่ โรงบำบัดสามารถลดค่า COD ในน้ำเสียได้ถึง 97% ในขั้นตอนเดียว โดยลูกค้าเป็นผู้จัดซื้ออุปกรณ์ทั้งหมดเองโดยตรง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากและสามารถคืนทุนอย่างรวดเร็ว โครงการนี้ยังได้รับรางวัลจากประชาคมยุโรปด้านการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่อีกด้วย |
รายละเอียดโครงการ โรงบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม โครงการ บ่อหมักแบบไร้อากาศที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ ที่ตั้ง แบลนด์ฟอร์ด ฟอรั่ม มณฑลดอร์เซ็ท สหราชอาณาจักร ผู้ว่าจ้าง Hall & Woodhouse Limited ขอบเขตงาน ประเมินของเสีย, ศึกษาความเป็นไปได้, ออกแบบ, จัดการโครงการ และทดสอบระบบ |
โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากเอทานอลของอีเอสเพาเวอร์ 120,000 ลิตรต่อวัน
ไบโอทริคได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการและบำรุงรักษาโรงบำบัดน้ำเสียจากโรงงานเอทานอลของบริษัทอีเอสพาวเวอร์ เป็นระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งประกอบด้วย บ่อหมักขนาด 35,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 บ่อ, บ่อปรับสภาพแบบไร้อากาศขนาด 70,000 ลูกบาศก์เมตร, โรงบำบัดระบบ SBR แบบใช้อากาศ และถังเก็บน้ำเสียขนาด 80,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง ระบบบำบัดแบบไร้อากาศที่ถูกออกแบบขึ้นมีความซับซ้อนสูง เพราะต้องสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยมีวัตถุดิบเป็นเศษมันสำปะหลัง 210 วัน/ปี และกากน้ำตาล 120 วัน/ปี
ทีมงานของไบโอทริค ซึ่งเป็นผู้ออกแบบโรงบำบัดน้ำเสียเดิม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมยื่นประมูลงานดำเนินการและบำรุงรักษาโรงบำบัดเต็มรูปแบบ ทีมงานของไบโอทริค 15 คนเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถดำเนินงาน ซ่อมบำรุง และจัดการระบบบำบัดได้ตลอด 24 ชั่วโมง/วัน 7 วัน/สัปดาห์ การดำเนินงานเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานทองคำของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยมีการรับประกันผลการดำเนินงานและผลผลิตก๊าซชีวภาพตลอดระยะเวลาดำเนินการภายใต้การดูแลของไบโอทริค ไบโอทริคได้ติดตั้งระบบจัดการสารสนเทศ ซึ่งทำให้ทีมงานสามารถตรวจสอบข้อมูลรายวันจากนอกสถานที่ได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเทคนิคคอยสนับสนุนผู้จัดการโรงงาน พนักงานของไบโอทริคยังได้รับใบอนุญาตผู้จัดการโรงงานจากสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กระทรวงอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีกด้วย |
รายละเอียดโครงการ โรงบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการใช้อากาศและไร้อากาศในโรงงานผลิตเอทานอล โครงการ ดำเนินงาน ซ่อมบำรุง และจัดการระบบบำบัดตลอด 24/7 ที่ตั้ง จังหวัดสระแก้ว ผู้ว่าจ้าง อีเอสพาวเวอร์ / อีเอสไบโอเอ็นเนอร์จี /ES Power / ES Bio Energy ขอบเขตงาน ออกแบบโรงบำบัดน้ำเสียเดิม, ดำเนินการและบำรุงรักษาโรงบำบัดน้ำเสียทั้งหมด, Operate |
การประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงบำบัดน้ำเสีย จากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม
บริษัท Dairy Crest Foods Limited เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากนม อาทิ นมผงพร่องมันเนยและเนย น้ำเสียจากกระบวนการผลิตประกอบไปด้วยนมและน้ำจากการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องจักร หลายครั้งบริษัทจำต้องปล่อยน้ำเสียที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานจากโรงบำบัดน้ำเสีย และเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ บริษัทจึงเลือกใช้วิธีการฟื้นฟูทางชีวภาพในการบำบัด Dairy Crest Foods ตัดสินใจที่จะทำการประเมินโรงบำบัดน้ำเสียและแนวทางการใช้วิธีฟื้นฟูทางชีวภาพ ทีมงานของไบโอทริคได้รับมอบหมายให้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงานของโรงบำบัดในแต่ละวันและเปรียบเทียบผลกับค่ามาตรฐานของระบบ และได้ข้อสรุปว่าควรมีการแก้ไขขั้นตอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงบำบัด |
รายละเอียดโครงการ โรงบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ โครงการ ประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของโรงบำบัด ที่ตั้ง ครัดจิงตัน, ชรอปไชร์ ผู้ว่าจ้าง บริษัท Dairy Crest Foods ขอบเขตงาน ประเมินคุณภาพของเสีย, ติดตามผล, เก็บข้อมูลและจัดทำรายงาน |
บ่อหมักแบบไร้อากาศ ในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ประเทศคอสตาริกา
แม้การนำต้นปาล์มสายพันธ์แอฟริกามาปลูกในคอสตาริกาจะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจ โดยทำให้ท้องถิ่นมีวัตถุดิบสำหรับการผลิตเนยเทียมและน้ำมันปรุงอาหาร แต่น้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มก็สามารถส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ระบบบำบัดน้ำทิ้งแบบบ่อเปิดที่มีอยู่เดิมผลิตและปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศโดยไม่มีการควบคุม ทีมงานของไบโอทริคและบริษัท Bronzeoak ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร (กองทุน Climate Change Challenge) เพื่อทำการศึกษาศักยภาพในการวางระบบบ่อหมักแบบไร้อากาศไว้ดักจับก๊าซมีเทนซึ่งถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ และนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้หม้อกำเนิดไอน้ำของโรงงาน ในขณะเดียวกันระบบยังจะช่วยลดค่าความต้องการออกซิเจนของน้ำในแหล่งน้ำในพื้นที่ โดยช่วยลดค่า COD ของน้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมาอีกด้วย จากผลการศึกษา สรุปว่าโครงการมีความเป็นไปได้สูงในเชิงพาณิชย์ โรงงานซึ่งมีกำลังการสกัดน้ำมันจากทะลายปาล์มสดอยู่ที่ 45 ตัน/ชั่วโมง และปล่อยน้ำเสีย 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 2.6 เมกะวัตต์ |
รายละเอียดโครงการ ประเมิน, ตรวจสอบเทคโนโลยีและรายงานความเป็นไปได้ของโครงการ โครงการ ศึกษาเทคโนโลยีและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการติดตั้งระบบแบบเต็มรูปแบบ ที่ตั้ง โคเปอาโกรปาล ประเทศคอสตาริกา ผู้ว่าจ้าง กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร, กองทุน Climate Change Challenge ขอบเขตงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและระบบหมักแบบไร้อากาศ |
บ่อบำบัดต้นแบบสำหรับของเสียจากยีสต์และโรงฆ่าสัตว์
ไบโอทริครับหน้าที่เป็นผู้ออกแบบระบบ จัดการโครงการ และทดสอบระบบบำบัดของเสียชีวภาพร่วมกับทีมงาน โดยมีเทศบาลเมืองคอร์คเป็นผู้ว่าจ้าง ทางเทศบาลขอให้มีการสาธิตระบบบำบัดที่สามารถจัดการกับของเสียหลายประเภท ทั้งขยะปฏิกูล ของเสียจากโรงฆ่าสัตว์ และยีสต์ที่ผ่านการหมักแล้ว ก่อนที่จะนำไปถม ระบบต้นแบบขนาด 20 ลูกบาศก์เมตรถูกออกแบบขึ้น จัดส่งจากอังกฤษไปยังไอร์แลนด์ และถูกติดตั้งและดำเนินการโดยทีมงานของไบโอทริค ระบบต้องสามารถแสดงศักยภาพในการผลิตพลังงาน และใช้ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปเป็นเชื้อเพลิงป้อนให้กับหม้อกำเนิดไอน้ำซึ่งจะถูกทำให้เย็นลงด้วยพัดลมและเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ทางการประทับใจในเทคโนโลยีและศักยภาพการผลิตพลังงานที่ไบโอทริคสาธิตให้ชมเป็นอย่างมาก จึงขอให้มีการติดตั้งระบบแบบเต็มรูปแบบ ตัวแทนของผู้ว่าจ้างในโครงการนี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในห้าผู้บริหารและผู้ก่อตั้งสำนักปกป้องสิ่งแวดล้อมของไอร์แลนด์ |
รายละเอียดโครงการ บ่อบำบัดสำหรับของเสียที่มีความเข้มข้นของแข็งสูง โครงการ บ่อบำบัดต้นแบบสำหรับน้ำเสียจากโรงฆ่าสัตว์ ขยะปฏิกูล และยีสต์ ที่ตั้ง เมืองคอร์ค ประเทศไอร์แลนด์ ผู้ว่าจ้าง เทศบาลเมืองคอร์ก ขอบเขตงาน ออกแบบกระบวนการ, ติดตั้ง, ทดสอบ, จัดการโครงการ และรายงานผล |
การดำเนินการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมให้กับโรงบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
บริษัท Cricket Malherbie Farms Limited เป็นผู้ผลิตเนื้อ, ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมโดยใช้วัตถุดิบในไร่ ไบโอทริคได้รับมอมหมายให้เข้าไปดำเนินการศึกษาแนวทางการบำบัดน้ำเสียและประโยชน์ที่จะได้รับจากการติดตั้งระบบบ่อหมักแบบไร้อากาศภายในพื้นที่ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่เงินลงทุน, ต้นทุนในการดำเนินการ, การกักเก็บของเสีย, การใช้ก๊าซชีวภาพ และการเก็บกู้ผลผลิตพลอยได้ เราได้ทำการประเมินการปรับเปลี่ยนระบบเพื่อให้มั่นใจว่าระบบจะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีการประเมินปัญหาเรื่องกลิ่นที่อาจเกิดขึ้นภายในโรงงานอีกด้วย รายงานผลการศึกษาของเราได้เสนอทางเลือกในการบำบัดน้ำเสียสำหรับกระบวนการอุตสาหกรรมเกษตรไว้หลายวิธี โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและประมาณการต้นทุน จากผลการศึกษานี้ บริษัทจึงตัดสินใจปรับปรุงธุรกิจ ยุติการผลิตสุกร และระงับกิจกรรมของโรงบำบัดน้ำเสีย ในปี 1999 โครงการนี้ได้ถูกจัดขึ้นอีกครั้งในชื่อ BioWise Initiative ควบคู่ไปกับโครงการ Envirowise และดำเนินการต่อเนื่องไปจนถึงปี 2006 โดยยังคงรูปแบบเดิมแต่ลดการจัดโรดโชว์และปรับให้เจาะจงกับกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มวิศวกรรม และพื้นที่ปนเปื้อนมากขึ้น ไบโอทริคยังมีส่วนร่วมในการร่างคู่มือ BioWise Industrial Effluent Guide อีกด้วย |
รายละเอียดโครงการ โรงบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร โครงการ ประเมินระบบบ่อหมักแบบไร้อากาศ ที่ตั้ง เนเธอร์ สโตวี่. ซอเมอร์เซท ผู้ว่าจ้าง บริษัท Cricket Malherbie Farms Limited ขอบเขตงาน ประเมินระบบและพื้นที่ทางด้านสิ่งแวดล้อม, เก็บข้อมูลและจัดทำรายงาน |
คำแนะนำเชิงเทคนิคสำหรับโครงการเทคโนโลยีชีวภาพ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม สหราชอาณาจักร
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหราชอาณาจักร (DTI) เดินหน้าเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการแก้ปัญหาให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยริเริ่มโครงการหลายโครงการ โครงการแรกคือโครงการ Biotechnology Means Business Initiative (BMB) ในปี 1992 มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากแต่ละภาคส่วน หนึ่งในนั้นคือตัวแทนจากไบโอทริคในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอข้อมูลในงานโรดโชว์ให้แก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศ โครงการนี้ถูกจัดขึ้นอีกครั้งในอีก 2 ปีต่อมา ด้วยงบประมาณสนับสนุนที่มากขึ้น มีการตั้งสายด่วนให้คำแนะนำ และจัดช่วงให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าแต่ละคน อีกทั้งยังมีการจัดโรดโชว์ขึ้นเพื่อเจาะกลุ่มอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นการประยุกต์ใช้ในด้านสิ่งแวดล้อมแทบทั้งหมด ในปี 1999 โครงการนี้ได้ถูกจัดขึ้นอีกครั้งในชื่อ BioWise Initiative ควบคู่ไปกับโครงการ Envirowise และดำเนินการต่อเนื่องไปจนถึงปี 2006 โดยยังคงรูปแบบเดิมแต่ลดการจัดโรดโชว์และปรับให้เจาะจงกับกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มวิศวกรรม และพื้นที่ปนเปื้อนมากขึ้น ไบโอทริคยังมีส่วนร่วมในการร่างคู่มือ BioWise Industrial Effluent Guide อีกด้วย |
รายละเอียดโครงการ ให้คำแนะนำในโครงการ Biotechnology and Environment Initiative กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม โครงการ ให้ข้อมูลด้านเทคนิคเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในกระบวนการอุตสาหกรรม. ที่ตั้ง ทั่วสหราชอาณาจักร ผู้ว่าจ้าง กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม, BMB และ BioWise Initiatives ขอบเขตงาน ให้คำแนะนำเชิงเทคนิคแก่โครงการ, ร่วมบรรยายในเวทีโรดโชว์, ให้คำแนะนำแก่ลูกค้า, ร่างบทความเชิงเทคนิคสำหรับสื่อ, ลงพื้นที่และตรวจโครงการสาธิต |
การประเมินโรงบำบัดน้ำเสียของโรงแรม ในสหราชอาณาจักร
โรงแรม Bird in Hand เป็นที่พักและร้านอาหารในชนบทของบริษัท Heavitree Inns Limited, ในเครือ Hall & Woodhouse Brewery ทีมงานของไบโอทริคได้รับมอบหมายจาก Heavitree ให้เข้าไปทำการประเมินโรงบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ซึ่งใช้ระบบ Bioclere โดยมีกลุ่มวิศวกรในท้องที่เป็นผู้ติดตั้งและผู้รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงและกำจัดกากตะกอน แต่โรงบำบัดมักประสบปัญหาระบายน้ำไม่ออก ไบโอทริคเสนอแนะให้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของเสียทั้งก่อนและหลังการบำบัดเพื่อดูประสิทธิภาพของระบบ Bioclere จากศึกษาพบว่าสาเหตุของการอุดตันนั้นเกิดจากกากตะกอนสะสม การแยกกากของแข็งและการกำจัดไขมันที่ไร้ประสิทธิภาพ เราได้ติดต่อไปยังตัวแทนของ Bioclere ในสหราชอาณาจักรเพื่อขอรับการตรวจเช็คและซ่อมบำรุง และพบปัญหาในระบบเพิ่มอีกหลายจุด มีการดำเนินการปรับปรุงภายใต้การดูแลของไบโอทริค จนกระทั่งโรงบำบัดสามารถกลับมาใช้งานได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน |
รายละเอียดโครงการ โรงบำบัดน้ำเสีย โครงการ ประเมินระบบ, ตรวจสอบของเสียภายในโรงบำบัดน้ำเสีย ที่ตั้ง เฮนลีย์ ออกซ์ฟอร์ด ผู้ว่าจ้าง บริษัท Heavitree Inns Limited มณฑลดอร์เซ็ท ขอบเขตงาน ประเมินระบบ, ตรวจสอบของเสีย, จัดการโครงการ, แก้ปัญหาทางเทคนิค, เก็บและรายงานข้อมูล |
ถังหมักต้นแบบเพื่อลดค่า COD และปริมาณยาฆ่าแมลงในน้ำเสียจากโรงงานขนสัตว์
บริษัท Buckfast Spinning ตั้งอยู่ชานเมืองดาร์ทมัวร์ ซึ่งเป็นแหล่งแปรรูปขนสัตว์มานานกว่า 190 ปี บริษัทแห่งนี้ผลิตเส้นด้ายกว่าปีละ 2,900 ตัน และปล่อยน้ำเสียออกมาราว 420 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำเสียเหล่านี้จะถูกบำบัดในขั้นต้นก่อนปล่อยลงท่อระบายน้ำ โรงงานต้องเสียค่าปรับปีละกว่า 410,000 ปอนด์ต่อปีจากการปล่อยน้ำเสียนี้ การติดตั้งบ่อบำบัดอุตสาหกรรมมแบบไร้อากาศจะช่วยให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้มหาศาล และยังได้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงป้อนให้หม้อกำเนิดไอน้ำได้อีกต่อหนึ่ง ทีมงานของไบโอทริคและบริษัท EnviroSolutions ได้ทำการติดตั้งและเดินระบบบำบัดต้นแบบเพื่อประเมินศักยภาพของกระบวนการในการลดค่า COD และยาฆ่าแมลง ที่ติดมากับขนสัตว์เข้ามาในโรงงาน ระบบประกอบไปด้วยถังปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 50 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง, ปล่องเผาก๊าซชีวภาพ, เพิงควบคุม, บ่อพัก, เครื่องปั๊มน้ำ และระบบท่อ การศึกษาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Biotechnology Means Business Initiative ของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหราชอาณาจักร และได้แสดงให้เห็นว่าสามารถช่วยลดมลพิษได้อย่างมีนัยสำคัญ |
รายละเอียดโครงการ บ่อบำบัดต้นแบบ โครงการ บ่อบำบัดต้นแบบสำหรับน้ำเสียจากโรงงานแปรรูปขนสัตว์ ที่ตั้ง บัคฟาสต์ เดวอน ผู้ว่าจ้าง บริษัท Buckfast Spinning ขอบเขตงาน พัฒนากระบวนการ, ติดตั้ง, ทดสอบ, ดำเนินการ และรายงานผล |
การจัดการขยะมูลฝอยแบบไร้อากาศ เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์
เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเมืองหนึ่งที่ประสบปัญหาด้านการจัดการขยะอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่เป็นปัญหามาจากขยะอินทรีย์จากตลาดสดในท้องถิ่น บ้านเรือน และแหล่งการค้าต่าง ๆ ทีมงานไบโอทริค บริษัท Philippines BioSciences และบริษัท EcoSecurities ได้รับงบประมาณจากกองทุน Climate Challenge Change Fund (CCCF) ผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ เพื่อให้ดำเนินการศึกษาระบบการจัดการขยะอินทรีย์ในขยะมูลฝอยชุมชนแบบไร้อากาศให้กับเมืองบาเกียว ระบบก๊าซชีวภาพแบบสองขั้นตอนถูกออกแบบขึ้นใหม่โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าเป็นที่รับขยะอินทรีย์แบบกึ่งต่อเนื่อง ของเหลวที่ได้จากกระบวนการถูกนำไปหมุนเวียนผ่านชั้นขยะแข็งและระบบย่อยสลายอัตราเร็วเพื่อแยกก๊าซชีวภาพออกจากขยะ ส่วนวัสดุที่ถูกย่อยสลายก็จะถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ยหรือวัสดุทดแทนดิน เราได้ออกแบบระบบขนาด 21 ตัน/วัน สำหรับโครงการระยะแรก ซึ่งจะถูกขยายเพิ่มเต็มกำลังเป็น 70 ตัน/วันในระยะที่สอง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงได้จากการวางระบบสามารถนำไปขึ้นทะเบียนเป็นโครงการกลไกพัฒนาที่สะอาด (CDM) โครงการนี้ถูกนำไปเสนอในงานสัมมนา Carbon Change ในกรุงมะนิลา แต่โครงการเต็มไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางการเมือง |
รายละเอียดโครงการ ระบบจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โครงการ ระบบย่อยสลายขยะอินทรีย์จากตลาดสดแบบไร้อากาศ ที่ตั้ง เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้ว่าจ้าง กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร ขอบเขตงาน ผู้นำโครงการ, ศึกษาความเป็นไปได้, ตรวจสอบขยะ, ออกแบบกระบวนการ, งานสัมมนา International Climate Change |
การออกแบบแปลงพืชและการปรับแก้ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานผักแปรรูป
บริษัท Anglian Processors เป็นบริษัทผลิตผักแปรรูปแช่แข็ง เช่น ถั่วลันเตา แครอท และหัวหอม โรงบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศที่ประจำการอยู่ในโรงงานประกอบด้วยระบบกรอง บ่อตกตะกอน และบ่อเติมอากาศ 3 บ่อ ระบบบำบัดต้องทำงานหนักเกินกำลังโดยเฉพาะในช่วงฤดูถั่วลันเตาระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของแต่ละปี ไบโอทริคได้ลงพื้นที่ไปทำการประเมินสถานะของโรงบำบัดน้ำเสียเดิม โดยทำงานร่วมกับตัวแทนของโรงงานอย่างใกล้ชิด นำไปสู่การเสนอร่างโครงการปรับปรุงระบบบำบัด ซึ่งเสนอให้ทางโรงงานติดตั้งบ่อบำบัดเพิ่ม 5 บ่อและเพิ่มระบบเติมอากาศเพื่อให้รองรับน้ำเสียได้มากขึ้น และเพื่อให้ระบบทำงานได้เต็มศักยภาพเราจึงออกแบบและลงแปลงพืชเสริมต่อจากขั้นตอนของบ่อบำบัดไว้ปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียอีกแรงหนึ่ง โรงบำบัดน้ำเสียโรงใหม่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้น้ำเสียมีคุณภาพดีสม่ำเสมอตลอดปี |
รายละเอียดโครงการ ระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม โครงการ ประเมินการทำงาน, ปรับปรุงโรงบำบัด, ติดตั้งแปลงพืชและระบบบำบัด ที่ตั้ง นอร์โฟล์ค สหราชอาณาจักร ผู้ว่าจ้าง บริษัท Anglian Proccessors ขอบเขตงาน ประเมินการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ปรับแก้ระบบบำบัดเดิม และออกแบบและติดตั้งแปลงพืชและระบบบำบัดใหม่ |
โรงบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมสำหรับโรงงานสมุนไพรและสารสกัด ในประเทศออสเตรีย
ทีมงานของไบโอทริคได้รับมอมหมายให้เป็นผู้ออกแบบระบบในโรงบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมแบบไร้อากาศให้ผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำอัดลมและสารสกัดสมุนไพร โดยบริษัท Akras International ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้มอบหมายให้บริษัท Purator GmbH บริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้ติดตั้งระบบบำบัดของเสียอุตสาหกรรมปริมาณของแข็งสูง เราได้เลือกระบบที่ล้ำสมัยให้กับโรงงานนี้ เพื่อให้สามารถรับมือกับของเสียซึ่งประกอบด้วยสารอินทรีย์หลายชนิดและมีปริมาณไม่สม่ำเสมอ อันทำให้ยากต่อการบำบัด กระบวนการบำบัดประกอบด้วยการบำบัดแบบไร้อากาศ โดยใช้บ่อหมักขนาด 300 ลูกบาศก์เมตร ไปจนถึงขั้นตอนการขัดแต่งแบบใช้อากาศ น้ำจากถังบำบัดแบบใช้อากาศจะไหลผ่านตัวกรองชีวภาพเพื่อขจัดกลิ่น ก๊าซชีวภาพที่เหลือถูกระบายออกผ่านทางปล่องเผาสเตนเลสของ Purator โรงบำบัดน้ำเสียนี้ถูกออกแบบเพื่อให้น้ำเสียที่ได้มีค่า COD ไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งลดลงถึง 96% จากค่า COD 96,000 มิลลิกรัม/ลิตร ของน้ำเสียก่อนผ่านกระบวนการบำบัด |
รายละเอียดโครงการ ระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม โครงการ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศและไร้อากาศในโรงงานผลิตหัวเชื้อน้ำอัดลม ที่ตั้ง เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย ผู้ว่าจ้าง บริษัท Purator GmbH ขอบเขตงาน ออกแบบกระบวนการ, ทดสอบระบบ, รายงานข้อมูลของระบบ |
เทคโนโลยีการออกแบบระบบก๊าซชีวภาพไบโอแก๊ส
Biotrix asia ขอเสนอเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพไบโอแก๊สที่ทันสมัยโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการ การวิจัยพัฒนา นวัตกรรมระบบการผลิตก๊าซชีวภาพระดับสากล และได้รับการรับรองเกียรติประวัติด้านไบโอแก๊สมากกว่า 25 ปี นอกจากนี้เรายังมีทีมงานไทยที่ได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างชำนาญการ ตลอดจนมีประสบการณ์การบริหารจัดการระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สเป็นอย่างดี เราพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาอย่างครบวงจร เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับผลประโยชน์สูงสุด Biotrix มีทางเลือกหลากหลายสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ เพื่อให้ท่านเกิดความพึงพอใจและคุ้มค่าต่อการลงทุนสูงสุด
Biotrix กับการบริการที่ครบวงจร
- เรารับเหมาก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพหรือโรงงานไบโอแก๊สทั้งระบบ(Turnkey) และระบบสัมปทาน(BOOT) ที่เป็นธรรม
- ระบบจัดการงานวิศวกรรม งานจัดซื้อ การควบคุม (EPC) และติดตั้งครบวงจร
- งานออกแบบวิศวกรรมโครงการ
- การบริหารจัดการระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊ส (Operation)
- การวางแผนการจัดการการผลิตที่เหมาะสม
- งานแก้ไขซ่อมแซมโครงสร้างและปรับปรุงระบบ
- การทดสอบและวางระบบก๊าซชีวภาพ
- ระบบการผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วมและปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพไบโอแก๊ส
- การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ
- การทดสอบในห้องปฏิบัติการทดลองและการสร้างระบบต้นแบบ
- การให้คำปรึกษาและดำเนินการกลไกลการพัฒนาที่สะอาด (CDM)
Biotrix กับเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ด้วยประสบการณืในการออกแบบและการบริหารจัดการระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สที่หลากหลายและได้รับการยอมรับจากสากล Biotrix พร้อมที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำระบบที่เหมาะสมที่สุดตามคุณสมบัติและปริมาณของเสียของแต่ละแหล่งกำเนิดให้กับท่าน เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับผลตอบแทนสูงสุด Biotrix จะทำให้ท่านเปลี่ยนความคิดจากการยึดติดกับเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพเพียงระบบใดระบบเดียว เพราะของเสียที่ใช้เป็นวัตถดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน ย่อมมีคุณสมบัติและมีองค์ประกอบทางกายภาพต่างกันด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเลือกเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพให้เหมาะสมกับของเสียนั้นด้วย Biotrix มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและประสบการณ์ที่ได้รับการยอมรับในด้านการออกแบบและพัฒนาระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สในระดับสากล เราสามารถทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด
Biotrix ไม่เคยหยุดนิ่งจากการวิจัยและพัฒนาระบบไบโอแก๊ส เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซชีวภาพ เราพยายามหาหนทางในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาระบบการจัดการของเสียอย่างสมบูรณ์ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ลงทุน ควบคู่ไปกับการรับษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนดังนี้
- Flexible Liner Reactors (FLRs)
- Upflow Anaerobic Sludge Blanket (UASB) System
- Expanded Bed Digesters
- High Rate Systems
- Hybrid Bioreactors
- Continuously Stirred Tank Reactors (CSTR)
Biotrix คือผู้เชี่ยวชาญด้าน Biogas
Biotrix มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานและการพัฒนาระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สจากกระบวนการ หรือเทคโนโลยี การใช้แบคทีเรียย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Systems) ทั้งของเสียจากภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และของเสียจากชุมชม ดังนี้
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก น้ำเสียจากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก น้ำเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอล
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก น้ำเสียจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์ม
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก กากของเสียในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากการปศุสัตว์
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มอื่นๆ
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากการฝังกลบขยะ
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากชุมชุนที่จัดเก็บโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.)
Biotrix กับการบริการที่ครบวงจร
- เรารับเหมาก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพหรือโรงงานไบโอแก๊สทั้งระบบ(Turnkey) และระบบสัมปทาน(BOOT) ที่เป็นธรรม
- ระบบจัดการงานวิศวกรรม งานจัดซื้อ การควบคุม (EPC) และติดตั้งครบวงจร
- งานออกแบบวิศวกรรมโครงการ
- การบริหารจัดการระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊ส (Operation)
- การวางแผนการจัดการการผลิตที่เหมาะสม
- งานแก้ไขซ่อมแซมโครงสร้างและปรับปรุงระบบ
- การทดสอบและวางระบบก๊าซชีวภาพ
- ระบบการผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วมและปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพไบโอแก๊ส
- การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ
- การทดสอบในห้องปฏิบัติการทดลองและการสร้างระบบต้นแบบ
- การให้คำปรึกษาและดำเนินการกลไกลการพัฒนาที่สะอาด (CDM)
Biotrix กับเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ด้วยประสบการณืในการออกแบบและการบริหารจัดการระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สที่หลากหลายและได้รับการยอมรับจากสากล Biotrix พร้อมที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำระบบที่เหมาะสมที่สุดตามคุณสมบัติและปริมาณของเสียของแต่ละแหล่งกำเนิดให้กับท่าน เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับผลตอบแทนสูงสุด Biotrix จะทำให้ท่านเปลี่ยนความคิดจากการยึดติดกับเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพเพียงระบบใดระบบเดียว เพราะของเสียที่ใช้เป็นวัตถดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน ย่อมมีคุณสมบัติและมีองค์ประกอบทางกายภาพต่างกันด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเลือกเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพให้เหมาะสมกับของเสียนั้นด้วย Biotrix มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและประสบการณ์ที่ได้รับการยอมรับในด้านการออกแบบและพัฒนาระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สในระดับสากล เราสามารถทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด
Biotrix ไม่เคยหยุดนิ่งจากการวิจัยและพัฒนาระบบไบโอแก๊ส เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซชีวภาพ เราพยายามหาหนทางในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาระบบการจัดการของเสียอย่างสมบูรณ์ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ลงทุน ควบคู่ไปกับการรับษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนดังนี้
- Flexible Liner Reactors (FLRs)
- Upflow Anaerobic Sludge Blanket (UASB) System
- Expanded Bed Digesters
- High Rate Systems
- Hybrid Bioreactors
- Continuously Stirred Tank Reactors (CSTR)
Biotrix คือผู้เชี่ยวชาญด้าน Biogas
Biotrix มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานและการพัฒนาระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สจากกระบวนการ หรือเทคโนโลยี การใช้แบคทีเรียย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Systems) ทั้งของเสียจากภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และของเสียจากชุมชม ดังนี้
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก น้ำเสียจากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก น้ำเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอล
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก น้ำเสียจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์ม
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก กากของเสียในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากการปศุสัตว์
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มอื่นๆ
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากการฝังกลบขยะ
- ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากชุมชุนที่จัดเก็บโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.)
Subscribe to:
Posts (Atom)