ประสบการณ์ด้านกระบวนการหมักแบบไร้อากาศสำหรับของเสียที่มีความเข้มข้นของแข็งสูง



   ทีมงานของไบโอทริคมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาระบบก๊าซชีวภาพสำหรับของเสียที่มีความเข้มข้นของแข็งสูงมาตั้งแต่ต้นยุค 1980 แม้ของแข็งที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพนี้จะให้ปริมาณก๊าซชีวภาพต่อตันมากกว่าของเหลว แต่ก็ต้องอาศัยกระบวนการทางวิศวกรรมและชีวเคมีที่ซับซ้อนกว่าในการจัดการเช่นกัน

ทีมงานของไบโอทริคได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของของเสียเหล่านี้มาตลอด 30 ปีที่ ทั้งที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตร หญ้า ขยะมูลฝอย อาหารสัตว์ กากตะกอน เศษผลไม้ สมุนไพร อาหาร และเศษซากจากโรงงานมันสำปะหลังและเอทานอล

ไบโอทริคมีประสบการณ์ด้านการออกแบบระบบหลากหลายประเภท ทั้งในขนาดเล็กและใหญ่ เช่น ระบบ FLR (Flexible liner reactor) ไบโอทริคสามารถเสนอระบบรูปแบบต่าง ๆ ให้ตรงตามความต้องการของคุณ สอบถามไบโอทริคเกี่ยวกับบริการของเรา ซึ่งมีตั้งแต่การตรวจสอบของเสีย, การวิจัย, โรงงานต้นแบบ และระบบเต็มรูปแบบได้


รายละเอียดโครงการ
พัฒนาระบบการหมักแบบไร้อากาศที่ใช้ความเข้มข้นของของแข็งสูงและประยุกต์ใช้กับของเสียประเภทต่าง ๆ

โครงการ
ของเสียจากสมุนไพรและหัวเชื้อในออสเตรีย, กากแอปเปิ้ลในสหรัฐฯ, ของเสียจากโรงงานยาในไอร์แลนด์. กากมันสำปะหลังในไทย

ที่ตั้ง
ทั่วโลก

ผู้ว่าจ้าง
รัฐบาลท้องถิ่น, บริษัทเอกชน

ขอบเขตงาน
ออกแบบ, พัฒนา, ทดสอบ, ประเมิน, วางระบบเต็มรูปแบบ

บ่อหมักก๊าซชีวภาพของเสียในฟาร์มสุกรที่ใหญ่ที่สุด ฟาร์ม Hanford สหราชอาณาจักร (1984-1997)



   บ่อหมักขนาด 850 ลูกบาศก์เมตรที่ฟาร์ม Hanford นี้เป็นบ่อหมักขยะจากการเกษตรบ่อแรกในสหราชอาณาจักรและเป็นบ่อที่ใหญ่ที่สุด บ่อหมักนี้ถูกออกแบบโดยด็อกเตอร์เอเธอริดจ์ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารบริษัทไบโอทริค) ในปี 1983 เพื่อบำบัดของเสียจากสุกร 13,000 ตัว (ราว 90 ลูกบาศก์เมตร/วัน เป็นของแข็ง 4.5%) โดยใช้ระยะเวลาเก็บกักของเหลวประมาณ 8-10 วัน แม้ว่าปกติจะใช้เวลาสั้นกว่า

บริษัท CLEAR เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโรงบำบัด แต่ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์กันสนิมที่เหมาะสม แม้ว่าระบบบำบัดจะทำงานได้เป็นปกติ แต่ภายในระยะเวลา 3 ปีหลังติดตั้ง ก็เริ่มมีก๊าซชีวภาพรั่วออกทางหลังคาที่ผุกร่อน (1988/9) ต่อมาทาง Hanford จึงตัดสินใจปูวัสดุ geotechnical membrane ไว้ใต้หลังคาเพื่อกันก๊าซรั่วซึม และสามารถใช้งานได้ไปตลอดอายุของโรงงาน

ก๊าซชีวภาพที่ได้จากการบำบัดถูกกักเก็บไว้ในถังบรรจุก๊าซขนาด 15 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและน้ำร้อนจากเครื่องยนต์ขนาด 45 กิโลวัตต์ สำหรับทำความร้อนให้บ่อหมัก

กลางยุค 1980 รัฐบาลได้ออกโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือในการรับซื้อเชื้อเพลิงที่ไม่ได้ผลิตจากฟอสซิลเป็นครั้งแรก โดยโครงการมีเงื่อนไขว่าบริษัทไฟฟ้าจะต้องซื้อไฟฟ้าจากแหล่งที่ผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงทางเลือกเป็นสัดส่วนตามที่กำหนด โครงการ Non-Fossil Fuel Obligation (NFFO) กำหนดไว้สำหรับเฉพาะโรงงานที่เพิ่งสร้างใหม่ แต่ NFFO ฉบับแรก (NFFO1) อนุญาตให้ระบบที่สร้างไว้แล้วได้เข้าร่วมโครงการด้วย

Hanford เสนอขายไฟฟ้าที่ราคา 6.5 เพนซ์/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งได้รับการอนุมัติเป็นระยะเวลา 10 ปี อัตรานี้สูงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าปกติในช่วงกลางวันซึ่งอยู่ที่ 4.5 เพนซ์/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และยิ่งสูงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าตอนกลางคืนซึ่งขายอยู่ที่ 2.4 เพนซ์/กิโลวัตต์-ชั่วโมง Hanford ขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ในราคาสูงกว่าอัตราปกติมาก

ของแข็งที่ได้จากการหมักถูกแยกออกโดยใช้ตะแกรงสั่นเพื่อทำเป็นวัสดุถมดินขาย ของเหลวที่เหลือซึ่งอุดมไปด้วยไนโตรเจน สามารถสูบผ่านท่อได้ง่าย และมีแทบไม่มีกลิ่นเหม็น สามารถนำไปเก็บและใช้เป็นปุ๋ยได้ในภายหลัง

สัญญาซื้อขายไฟฟ้า NFFO สิ้นสุดลงปี 1999 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ Hanford กำลังพิจารณาปรับปรุงระบบ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสุกรทำเงินได้ไม่ดีนักในช่วงนั้น บริษัทจึงตัดสินใจขายโรงงานอาหารสัตว์ซึ่งอาจต้องใช้ไฟฟ้ามากในอนาคตทิ้ง เมื่อไม่มีเงินสนับสนุนจาก NFFO การผลิตไฟฟ้าเพื่อขายในราคาต่ำลงจึงไม่คุ้มค่าอีกต่อไป ทางบริษัทจึงตัดสินใจปิดโรงบำบัดและหยุดดำเนินการนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นี่คือเนื้อความบางส่วนที่ตัดมาจากบทความ “Biomass and Renewable Energy” (1999) จากหนังสือพิมพ์ Financial Time : “โรงบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศสำหรับของเสียจากสุกรและเศษอาหารในพิดเดิลฮินตัน มณฑลดอร์เซท เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1984 มันผลิตไฟฟ้าได้กว่า 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง/วัน เครื่องกำเนิดไฟฟ้ายังมีความร้อนเหลือใช้เพื่อป้อนให้กับบ่อหมักและอาคารสำนักงานใกล้เคียง ด้วยเงินลงทุนราว 213,000 ปอนด์ และค่าดำเนินการปีละ 15,000 ปอนด์ โรงงานแห่งนี้สามารถคืนทุนได้ก่อนเข้าร่วมโครงการ NFFO และเมื่อเข้าร่วมโครงการ NFFO ราคารับซื้อไฟฟ้าก็ยิ่งสูงขึ้นทำให้โรงงานทำกำไรได้มากขึ้น กากของเสียจากบ่อหมักจะถูกแยกออกแล้วนำไปไถกลบ ในขณะที่ของเหลวจากบ่อหมักจะถูกนำไปโรยหน้าดินเพื่อให้เป็นปุ๋ยต่อไป"

รายละเอียดโครงการ
โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มหมู

โครงการ
โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร

ที่ตั้ง
ในสหราชอาณาจักร

ผู้ว่าจ้าง
ฟาร์ม Hanford

ขอบเขตงาน
ออกแบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

บ่อหมักกลางแบบไร้อากาศสำหรับฟาร์มเลี้ยงสุกร 6 แห่ง เกาะไห่หนาน ประเทศจีน



   การเลี้ยงสุกรเชิงพาณิชย์อาจก่อให้เกิดมลภาวะและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาส ในกรณีนี้คือการผลิตพลังงานทางเลือกอย่าง “ก๊าซชีวภาพ” ในเขตพัฒนาเกษตรกรรมไหโข่ว-หลัวหนิวซาน บนเกาะไห่หนาน ประเทศจีน ฟาร์มเลี้ยงสุกร 8 แห่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันต่างปล่อยน้ำเสียลงในบ่อน้ำเปิด ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งและทำให้แหล่งน้ำสกปรก

ทีมงานของไบโอทริคและ Bronzeoak ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักรให้เข้าไปทำการศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์และเทคนิคในการวางระบบบ่อหมักก๊าซแบบไร้อากาศ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ และเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 350 กิโลวัตต์ ของแข็งที่แยกออกมาจากน้ำเสียสามารถใช้เป็นปุ๋ยและ/หรืออาหารปลาได้

อย่างไรก็ตามเพื่อให้บรรลุประโยชน์เหล่านี้ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการ เช่น การกักเก็บของเสียที่เป็นของแข็งให้ได้มากที่สุดเพื่อนำไปผ่านกระบวนการบำบัดในบ่อหมัก ปัจจุบันของแข็งจากน้ำเสียถูกดักจับและแยกออกก่อนเข้าสู่กระบวนการหมัก ทำให้ผลิตก๊าซได้น้อย


รายละเอียดโครงการ
ประเมิน, ตรวจสอบเทคโนโลยีและรายงานความเป็นไปได้ของโครงการ

โครงการ
ศึกษาเทคโนโลยี ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ของอุตสาหกรรม

ที่ตั้ง
เกาะไห่หนาน ประเทศจีน

ผู้ว่าจ้าง
กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร, กองทุน Climate Change Challenge

ขอบเขตงาน
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและระบบหมักแบบไร้อากาศ

ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานเบียร์และน้ำอัดลม



   บริษัท Hall & Woodhouse Limited เป็นโรงงานเบียร์เก่าแก่ ผู้ผลิตเบียร์ยี่ห้อ Badger Beers, Hofbrau Lager และน้ำอัดลม Panda Soft Drinks น้ำเสียจากกระบวนการทั้งหมดได้รับการบำบัดภายในโรงงานมาตั้งแต่ปี 1986 ก่อนที่จะถูกปล่อยลงท่อน้ำทิ้ง โรงบำบัดน้ำเสียภายในโรงงานถูกปิดไปเมื่อเดือนมกราคม 1991 เพราะมีสภาพผุกร่อนจนไม่สามารถใช้งานได้

ทีมงานของไบโอทริคได้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบเพื่อประเมินลักษณะของน้ำเสียและความเป็นไปได้ในการวางระบบบำบัดใหม่ ต่อมาไบโอทริคจึงได้รับมอบหมายให้ออกแบบโรงบำบัดแบบไร้อากาศขึ้นใหม่ และเป็นผู้รับผิดชอบจัดการโครงการและทดสอบระบบบ่อหมักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรในขณะนั้น (3,300 ลูกบาศก์เมตร) ตัวระบบมีจุดเด่นหลายอย่าง เช่น ระบบปฏิบัติการชนิดปริมาตรแปรเปลี่ยน ระบบทำความร้อน และระบบผสมแบบใหม่

โรงบำบัดสามารถลดค่า COD ในน้ำเสียได้ถึง 97% ในขั้นตอนเดียว โดยลูกค้าเป็นผู้จัดซื้ออุปกรณ์ทั้งหมดเองโดยตรง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากและสามารถคืนทุนอย่างรวดเร็ว โครงการนี้ยังได้รับรางวัลจากประชาคมยุโรปด้านการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่อีกด้วย


รายละเอียดโครงการ
โรงบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม

โครงการ
บ่อหมักแบบไร้อากาศที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ

ที่ตั้ง
แบลนด์ฟอร์ด ฟอรั่ม มณฑลดอร์เซ็ท สหราชอาณาจักร

ผู้ว่าจ้าง
Hall & Woodhouse Limited

ขอบเขตงาน
ประเมินของเสีย, ศึกษาความเป็นไปได้, ออกแบบ, จัดการโครงการ และทดสอบระบบ

โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากเอทานอลของอีเอสเพาเวอร์ 120,000 ลิตรต่อวัน



   ไบโอทริคได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการและบำรุงรักษาโรงบำบัดน้ำเสียจากโรงงานเอทานอลของบริษัทอีเอสพาวเวอร์ เป็นระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งประกอบด้วย บ่อหมักขนาด 35,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 บ่อ, บ่อปรับสภาพแบบไร้อากาศขนาด 70,000 ลูกบาศก์เมตร, โรงบำบัดระบบ SBR แบบใช้อากาศ และถังเก็บน้ำเสียขนาด 80,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง ระบบบำบัดแบบไร้อากาศที่ถูกออกแบบขึ้นมีความซับซ้อนสูง เพราะต้องสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยมีวัตถุดิบเป็นเศษมันสำปะหลัง 210 วัน/ปี และกากน้ำตาล 120 วัน/ปี

ทีมงานของไบโอทริค ซึ่งเป็นผู้ออกแบบโรงบำบัดน้ำเสียเดิม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมยื่นประมูลงานดำเนินการและบำรุงรักษาโรงบำบัดเต็มรูปแบบ ทีมงานของไบโอทริค 15 คนเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถดำเนินงาน ซ่อมบำรุง และจัดการระบบบำบัดได้ตลอด 24 ชั่วโมง/วัน 7 วัน/สัปดาห์ การดำเนินงานเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานทองคำของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยมีการรับประกันผลการดำเนินงานและผลผลิตก๊าซชีวภาพตลอดระยะเวลาดำเนินการภายใต้การดูแลของไบโอทริค

ไบโอทริคได้ติดตั้งระบบจัดการสารสนเทศ ซึ่งทำให้ทีมงานสามารถตรวจสอบข้อมูลรายวันจากนอกสถานที่ได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเทคนิคคอยสนับสนุนผู้จัดการโรงงาน พนักงานของไบโอทริคยังได้รับใบอนุญาตผู้จัดการโรงงานจากสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กระทรวงอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีกด้วย


รายละเอียดโครงการ
โรงบำบัดน้ำเสียด้วยกระบวนการใช้อากาศและไร้อากาศในโรงงานผลิตเอทานอล

โครงการ
ดำเนินงาน ซ่อมบำรุง และจัดการระบบบำบัดตลอด 24/7

ที่ตั้ง
จังหวัดสระแก้ว

ผู้ว่าจ้าง
อีเอสพาวเวอร์ / อีเอสไบโอเอ็นเนอร์จี /ES Power / ES Bio Energy

ขอบเขตงาน
ออกแบบโรงบำบัดน้ำเสียเดิม, ดำเนินการและบำรุงรักษาโรงบำบัดน้ำเสียทั้งหมด, Operate

การประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงบำบัดน้ำเสีย จากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม


   บริษัท Dairy Crest Foods Limited เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากนม อาทิ นมผงพร่องมันเนยและเนย น้ำเสียจากกระบวนการผลิตประกอบไปด้วยนมและน้ำจากการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องจักร หลายครั้งบริษัทจำต้องปล่อยน้ำเสียที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานจากโรงบำบัดน้ำเสีย และเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ บริษัทจึงเลือกใช้วิธีการฟื้นฟูทางชีวภาพในการบำบัด

Dairy Crest Foods ตัดสินใจที่จะทำการประเมินโรงบำบัดน้ำเสียและแนวทางการใช้วิธีฟื้นฟูทางชีวภาพ ทีมงานของไบโอทริคได้รับมอบหมายให้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงานของโรงบำบัดในแต่ละวันและเปรียบเทียบผลกับค่ามาตรฐานของระบบ และได้ข้อสรุปว่าควรมีการแก้ไขขั้นตอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงบำบัด


รายละเอียดโครงการ
โรงบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ

โครงการ
ประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของโรงบำบัด

ที่ตั้ง
ครัดจิงตัน, ชรอปไชร์

ผู้ว่าจ้าง
บริษัท Dairy Crest Foods

ขอบเขตงาน
ประเมินคุณภาพของเสีย, ติดตามผล, เก็บข้อมูลและจัดทำรายงาน

บ่อหมักแบบไร้อากาศ ในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ประเทศคอสตาริกา


   แม้การนำต้นปาล์มสายพันธ์แอฟริกามาปลูกในคอสตาริกาจะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจ โดยทำให้ท้องถิ่นมีวัตถุดิบสำหรับการผลิตเนยเทียมและน้ำมันปรุงอาหาร แต่น้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มก็สามารถส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ระบบบำบัดน้ำทิ้งแบบบ่อเปิดที่มีอยู่เดิมผลิตและปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศโดยไม่มีการควบคุม

ทีมงานของไบโอทริคและบริษัท Bronzeoak ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร (กองทุน Climate Change Challenge) เพื่อทำการศึกษาศักยภาพในการวางระบบบ่อหมักแบบไร้อากาศไว้ดักจับก๊าซมีเทนซึ่งถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ และนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้หม้อกำเนิดไอน้ำของโรงงาน ในขณะเดียวกันระบบยังจะช่วยลดค่าความต้องการออกซิเจนของน้ำในแหล่งน้ำในพื้นที่ โดยช่วยลดค่า COD ของน้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมาอีกด้วย

จากผลการศึกษา สรุปว่าโครงการมีความเป็นไปได้สูงในเชิงพาณิชย์ โรงงานซึ่งมีกำลังการสกัดน้ำมันจากทะลายปาล์มสดอยู่ที่ 45 ตัน/ชั่วโมง และปล่อยน้ำเสีย 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 2.6 เมกะวัตต์


รายละเอียดโครงการ
ประเมิน, ตรวจสอบเทคโนโลยีและรายงานความเป็นไปได้ของโครงการ

โครงการ
ศึกษาเทคโนโลยีและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการติดตั้งระบบแบบเต็มรูปแบบ

ที่ตั้ง
โคเปอาโกรปาล ประเทศคอสตาริกา

ผู้ว่าจ้าง
กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร, กองทุน Climate Change Challenge

ขอบเขตงาน
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและระบบหมักแบบไร้อากาศ

บ่อบำบัดต้นแบบสำหรับของเสียจากยีสต์และโรงฆ่าสัตว์


   ไบโอทริครับหน้าที่เป็นผู้ออกแบบระบบ จัดการโครงการ และทดสอบระบบบำบัดของเสียชีวภาพร่วมกับทีมงาน โดยมีเทศบาลเมืองคอร์คเป็นผู้ว่าจ้าง ทางเทศบาลขอให้มีการสาธิตระบบบำบัดที่สามารถจัดการกับของเสียหลายประเภท ทั้งขยะปฏิกูล ของเสียจากโรงฆ่าสัตว์ และยีสต์ที่ผ่านการหมักแล้ว ก่อนที่จะนำไปถม

   ระบบต้นแบบขนาด 20 ลูกบาศก์เมตรถูกออกแบบขึ้น จัดส่งจากอังกฤษไปยังไอร์แลนด์ และถูกติดตั้งและดำเนินการโดยทีมงานของไบโอทริค ระบบต้องสามารถแสดงศักยภาพในการผลิตพลังงาน และใช้ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปเป็นเชื้อเพลิงป้อนให้กับหม้อกำเนิดไอน้ำซึ่งจะถูกทำให้เย็นลงด้วยพัดลมและเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน

   ทางการประทับใจในเทคโนโลยีและศักยภาพการผลิตพลังงานที่ไบโอทริคสาธิตให้ชมเป็นอย่างมาก จึงขอให้มีการติดตั้งระบบแบบเต็มรูปแบบ

   ตัวแทนของผู้ว่าจ้างในโครงการนี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในห้าผู้บริหารและผู้ก่อตั้งสำนักปกป้องสิ่งแวดล้อมของไอร์แลนด์


รายละเอียดโครงการ
บ่อบำบัดสำหรับของเสียที่มีความเข้มข้นของแข็งสูง

โครงการ
บ่อบำบัดต้นแบบสำหรับน้ำเสียจากโรงฆ่าสัตว์ ขยะปฏิกูล และยีสต์

ที่ตั้ง
เมืองคอร์ค ประเทศไอร์แลนด์

ผู้ว่าจ้าง
เทศบาลเมืองคอร์ก

ขอบเขตงาน
ออกแบบกระบวนการ, ติดตั้ง, ทดสอบ, จัดการโครงการ และรายงานผล

การดำเนินการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมให้กับโรงบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร


บริษัท Cricket Malherbie Farms Limited เป็นผู้ผลิตเนื้อ, ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมโดยใช้วัตถุดิบในไร่ ไบโอทริคได้รับมอมหมายให้เข้าไปดำเนินการศึกษาแนวทางการบำบัดน้ำเสียและประโยชน์ที่จะได้รับจากการติดตั้งระบบบ่อหมักแบบไร้อากาศภายในพื้นที่ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่เงินลงทุน, ต้นทุนในการดำเนินการ, การกักเก็บของเสีย, การใช้ก๊าซชีวภาพ และการเก็บกู้ผลผลิตพลอยได้ เราได้ทำการประเมินการปรับเปลี่ยนระบบเพื่อให้มั่นใจว่าระบบจะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีการประเมินปัญหาเรื่องกลิ่นที่อาจเกิดขึ้นภายในโรงงานอีกด้วย
รายงานผลการศึกษาของเราได้เสนอทางเลือกในการบำบัดน้ำเสียสำหรับกระบวนการอุตสาหกรรมเกษตรไว้หลายวิธี โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและประมาณการต้นทุน จากผลการศึกษานี้ บริษัทจึงตัดสินใจปรับปรุงธุรกิจ ยุติการผลิตสุกร และระงับกิจกรรมของโรงบำบัดน้ำเสีย
ในปี 1999 โครงการนี้ได้ถูกจัดขึ้นอีกครั้งในชื่อ BioWise Initiative ควบคู่ไปกับโครงการ Envirowise และดำเนินการต่อเนื่องไปจนถึงปี 2006 โดยยังคงรูปแบบเดิมแต่ลดการจัดโรดโชว์และปรับให้เจาะจงกับกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มวิศวกรรม และพื้นที่ปนเปื้อนมากขึ้น ไบโอทริคยังมีส่วนร่วมในการร่างคู่มือ BioWise Industrial Effluent Guide อีกด้วย

รายละเอียดโครงการ
โรงบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร

โครงการ
ประเมินระบบบ่อหมักแบบไร้อากาศ

ที่ตั้ง
เนเธอร์ สโตวี่. ซอเมอร์เซท

ผู้ว่าจ้าง
บริษัท Cricket Malherbie Farms Limited

ขอบเขตงาน
ประเมินระบบและพื้นที่ทางด้านสิ่งแวดล้อม, เก็บข้อมูลและจัดทำรายงาน

คำแนะนำเชิงเทคนิคสำหรับโครงการเทคโนโลยีชีวภาพ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม สหราชอาณาจักร


กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหราชอาณาจักร (DTI) เดินหน้าเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการแก้ปัญหาให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยริเริ่มโครงการหลายโครงการ โครงการแรกคือโครงการ Biotechnology Means Business Initiative (BMB) ในปี 1992 มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากแต่ละภาคส่วน หนึ่งในนั้นคือตัวแทนจากไบโอทริคในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอข้อมูลในงานโรดโชว์ให้แก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศ โครงการนี้ถูกจัดขึ้นอีกครั้งในอีก 2 ปีต่อมา ด้วยงบประมาณสนับสนุนที่มากขึ้น มีการตั้งสายด่วนให้คำแนะนำ และจัดช่วงให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าแต่ละคน อีกทั้งยังมีการจัดโรดโชว์ขึ้นเพื่อเจาะกลุ่มอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นการประยุกต์ใช้ในด้านสิ่งแวดล้อมแทบทั้งหมด

ในปี 1999 โครงการนี้ได้ถูกจัดขึ้นอีกครั้งในชื่อ BioWise Initiative ควบคู่ไปกับโครงการ Envirowise และดำเนินการต่อเนื่องไปจนถึงปี 2006 โดยยังคงรูปแบบเดิมแต่ลดการจัดโรดโชว์และปรับให้เจาะจงกับกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มวิศวกรรม และพื้นที่ปนเปื้อนมากขึ้น ไบโอทริคยังมีส่วนร่วมในการร่างคู่มือ BioWise Industrial Effluent Guide อีกด้วย

รายละเอียดโครงการ
ให้คำแนะนำในโครงการ Biotechnology and Environment Initiative กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม

โครงการ
ให้ข้อมูลด้านเทคนิคเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในกระบวนการอุตสาหกรรม.

ที่ตั้ง
ทั่วสหราชอาณาจักร

ผู้ว่าจ้าง
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม, BMB และ BioWise Initiatives

ขอบเขตงาน
ให้คำแนะนำเชิงเทคนิคแก่โครงการ, ร่วมบรรยายในเวทีโรดโชว์, ให้คำแนะนำแก่ลูกค้า, ร่างบทความเชิงเทคนิคสำหรับสื่อ, ลงพื้นที่และตรวจโครงการสาธิต

การประเมินโรงบำบัดน้ำเสียของโรงแรม ในสหราชอาณาจักร


โรงแรม Bird in Hand เป็นที่พักและร้านอาหารในชนบทของบริษัท Heavitree Inns Limited, ในเครือ Hall & Woodhouse Brewery ทีมงานของไบโอทริคได้รับมอบหมายจาก Heavitree ให้เข้าไปทำการประเมินโรงบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ซึ่งใช้ระบบ Bioclere โดยมีกลุ่มวิศวกรในท้องที่เป็นผู้ติดตั้งและผู้รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงและกำจัดกากตะกอน แต่โรงบำบัดมักประสบปัญหาระบายน้ำไม่ออก

ไบโอทริคเสนอแนะให้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของเสียทั้งก่อนและหลังการบำบัดเพื่อดูประสิทธิภาพของระบบ Bioclere จากศึกษาพบว่าสาเหตุของการอุดตันนั้นเกิดจากกากตะกอนสะสม การแยกกากของแข็งและการกำจัดไขมันที่ไร้ประสิทธิภาพ เราได้ติดต่อไปยังตัวแทนของ Bioclere ในสหราชอาณาจักรเพื่อขอรับการตรวจเช็คและซ่อมบำรุง และพบปัญหาในระบบเพิ่มอีกหลายจุด มีการดำเนินการปรับปรุงภายใต้การดูแลของไบโอทริค จนกระทั่งโรงบำบัดสามารถกลับมาใช้งานได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน

รายละเอียดโครงการ
โรงบำบัดน้ำเสีย

โครงการ
ประเมินระบบ, ตรวจสอบของเสียภายในโรงบำบัดน้ำเสีย

ที่ตั้ง
เฮนลีย์ ออกซ์ฟอร์ด

ผู้ว่าจ้าง
บริษัท Heavitree Inns Limited มณฑลดอร์เซ็ท

ขอบเขตงาน
ประเมินระบบ, ตรวจสอบของเสีย, จัดการโครงการ, แก้ปัญหาทางเทคนิค, เก็บและรายงานข้อมูล

ถังหมักต้นแบบเพื่อลดค่า COD และปริมาณยาฆ่าแมลงในน้ำเสียจากโรงงานขนสัตว์


บริษัท Buckfast Spinning ตั้งอยู่ชานเมืองดาร์ทมัวร์ ซึ่งเป็นแหล่งแปรรูปขนสัตว์มานานกว่า 190 ปี บริษัทแห่งนี้ผลิตเส้นด้ายกว่าปีละ 2,900 ตัน และปล่อยน้ำเสียออกมาราว 420 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำเสียเหล่านี้จะถูกบำบัดในขั้นต้นก่อนปล่อยลงท่อระบายน้ำ โรงงานต้องเสียค่าปรับปีละกว่า 410,000 ปอนด์ต่อปีจากการปล่อยน้ำเสียนี้

การติดตั้งบ่อบำบัดอุตสาหกรรมมแบบไร้อากาศจะช่วยให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้มหาศาล และยังได้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงป้อนให้หม้อกำเนิดไอน้ำได้อีกต่อหนึ่ง ทีมงานของไบโอทริคและบริษัท EnviroSolutions ได้ทำการติดตั้งและเดินระบบบำบัดต้นแบบเพื่อประเมินศักยภาพของกระบวนการในการลดค่า COD และยาฆ่าแมลง ที่ติดมากับขนสัตว์เข้ามาในโรงงาน ระบบประกอบไปด้วยถังปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 50 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง, ปล่องเผาก๊าซชีวภาพ, เพิงควบคุม, บ่อพัก, เครื่องปั๊มน้ำ และระบบท่อ การศึกษาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Biotechnology Means Business Initiative ของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหราชอาณาจักร และได้แสดงให้เห็นว่าสามารถช่วยลดมลพิษได้อย่างมีนัยสำคัญ

รายละเอียดโครงการ
บ่อบำบัดต้นแบบ

โครงการ
บ่อบำบัดต้นแบบสำหรับน้ำเสียจากโรงงานแปรรูปขนสัตว์

ที่ตั้ง
บัคฟาสต์ เดวอน

ผู้ว่าจ้าง
บริษัท Buckfast Spinning

ขอบเขตงาน
พัฒนากระบวนการ, ติดตั้ง, ทดสอบ, ดำเนินการ และรายงานผล

การจัดการขยะมูลฝอยแบบไร้อากาศ เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์


เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเมืองหนึ่งที่ประสบปัญหาด้านการจัดการขยะอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่เป็นปัญหามาจากขยะอินทรีย์จากตลาดสดในท้องถิ่น  บ้านเรือน และแหล่งการค้าต่าง ๆ ทีมงานไบโอทริค บริษัท Philippines BioSciences และบริษัท EcoSecurities ได้รับงบประมาณจากกองทุน Climate Challenge Change Fund (CCCF) ผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ เพื่อให้ดำเนินการศึกษาระบบการจัดการขยะอินทรีย์ในขยะมูลฝอยชุมชนแบบไร้อากาศให้กับเมืองบาเกียว

ระบบก๊าซชีวภาพแบบสองขั้นตอนถูกออกแบบขึ้นใหม่โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าเป็นที่รับขยะอินทรีย์แบบกึ่งต่อเนื่อง ของเหลวที่ได้จากกระบวนการถูกนำไปหมุนเวียนผ่านชั้นขยะแข็งและระบบย่อยสลายอัตราเร็วเพื่อแยกก๊าซชีวภาพออกจากขยะ ส่วนวัสดุที่ถูกย่อยสลายก็จะถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ยหรือวัสดุทดแทนดิน

เราได้ออกแบบระบบขนาด 21 ตัน/วัน สำหรับโครงการระยะแรก ซึ่งจะถูกขยายเพิ่มเต็มกำลังเป็น 70 ตัน/วันในระยะที่สอง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงได้จากการวางระบบสามารถนำไปขึ้นทะเบียนเป็นโครงการกลไกพัฒนาที่สะอาด (CDM) โครงการนี้ถูกนำไปเสนอในงานสัมมนา Carbon Change ในกรุงมะนิลา แต่โครงการเต็มไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางการเมือง

รายละเอียดโครงการ
ระบบจัดการขยะมูลฝอยชุมชน

โครงการ
ระบบย่อยสลายขยะอินทรีย์จากตลาดสดแบบไร้อากาศ 

ที่ตั้ง
เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์

ผู้ว่าจ้าง
กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร

ขอบเขตงาน
ผู้นำโครงการ, ศึกษาความเป็นไปได้, ตรวจสอบขยะ, ออกแบบกระบวนการ, งานสัมมนา International Climate Change

การออกแบบแปลงพืชและการปรับแก้ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานผักแปรรูป

บริษัท Anglian Processors เป็นบริษัทผลิตผักแปรรูปแช่แข็ง เช่น ถั่วลันเตา แครอท และหัวหอม โรงบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศที่ประจำการอยู่ในโรงงานประกอบด้วยระบบกรอง บ่อตกตะกอน และบ่อเติมอากาศ 3 บ่อ ระบบบำบัดต้องทำงานหนักเกินกำลังโดยเฉพาะในช่วงฤดูถั่วลันเตาระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของแต่ละปี

ไบโอทริคได้ลงพื้นที่ไปทำการประเมินสถานะของโรงบำบัดน้ำเสียเดิม โดยทำงานร่วมกับตัวแทนของโรงงานอย่างใกล้ชิด นำไปสู่การเสนอร่างโครงการปรับปรุงระบบบำบัด ซึ่งเสนอให้ทางโรงงานติดตั้งบ่อบำบัดเพิ่ม  5 บ่อและเพิ่มระบบเติมอากาศเพื่อให้รองรับน้ำเสียได้มากขึ้น และเพื่อให้ระบบทำงานได้เต็มศักยภาพเราจึงออกแบบและลงแปลงพืชเสริมต่อจากขั้นตอนของบ่อบำบัดไว้ปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียอีกแรงหนึ่ง

โรงบำบัดน้ำเสียโรงใหม่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้น้ำเสียมีคุณภาพดีสม่ำเสมอตลอดปี
รายละเอียดโครงการ
ระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม

โครงการ
ประเมินการทำงาน, ปรับปรุงโรงบำบัด, ติดตั้งแปลงพืชและระบบบำบัด

ที่ตั้ง
นอร์โฟล์ค สหราชอาณาจักร

ผู้ว่าจ้าง
บริษัท Anglian Proccessors

ขอบเขตงาน
ประเมินการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ปรับแก้ระบบบำบัดเดิม และออกแบบและติดตั้งแปลงพืชและระบบบำบัดใหม่

โรงบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมสำหรับโรงงานสมุนไพรและสารสกัด ในประเทศออสเตรีย


ทีมงานของไบโอทริคได้รับมอมหมายให้เป็นผู้ออกแบบระบบในโรงบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมแบบไร้อากาศให้ผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำอัดลมและสารสกัดสมุนไพร โดยบริษัท Akras International ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้มอบหมายให้บริษัท Purator GmbH บริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้ติดตั้งระบบบำบัดของเสียอุตสาหกรรมปริมาณของแข็งสูง

เราได้เลือกระบบที่ล้ำสมัยให้กับโรงงานนี้ เพื่อให้สามารถรับมือกับของเสียซึ่งประกอบด้วยสารอินทรีย์หลายชนิดและมีปริมาณไม่สม่ำเสมอ อันทำให้ยากต่อการบำบัด กระบวนการบำบัดประกอบด้วยการบำบัดแบบไร้อากาศ โดยใช้บ่อหมักขนาด 300 ลูกบาศก์เมตร ไปจนถึงขั้นตอนการขัดแต่งแบบใช้อากาศ น้ำจากถังบำบัดแบบใช้อากาศจะไหลผ่านตัวกรองชีวภาพเพื่อขจัดกลิ่น ก๊าซชีวภาพที่เหลือถูกระบายออกผ่านทางปล่องเผาสเตนเลสของ Purator

โรงบำบัดน้ำเสียนี้ถูกออกแบบเพื่อให้น้ำเสียที่ได้มีค่า COD ไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งลดลงถึง 96% จากค่า COD 96,000 มิลลิกรัม/ลิตร ของน้ำเสียก่อนผ่านกระบวนการบำบัด

รายละเอียดโครงการ
ระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม

โครงการ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศและไร้อากาศในโรงงานผลิตหัวเชื้อน้ำอัดลม

ที่ตั้ง
เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย

ผู้ว่าจ้าง
บริษัท Purator GmbH

ขอบเขตงาน
ออกแบบกระบวนการ, ทดสอบระบบ, รายงานข้อมูลของระบบ

เทคโนโลยีการออกแบบระบบก๊าซชีวภาพไบโอแก๊ส

Biotrix asia ขอเสนอเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพไบโอแก๊สที่ทันสมัยโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการ การวิจัยพัฒนา นวัตกรรมระบบการผลิตก๊าซชีวภาพระดับสากล และได้รับการรับรองเกียรติประวัติด้านไบโอแก๊สมากกว่า 25 ปี นอกจากนี้เรายังมีทีมงานไทยที่ได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างชำนาญการ ตลอดจนมีประสบการณ์การบริหารจัดการระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สเป็นอย่างดี เราพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาอย่างครบวงจร เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับผลประโยชน์สูงสุด Biotrix มีทางเลือกหลากหลายสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ เพื่อให้ท่านเกิดความพึงพอใจและคุ้มค่าต่อการลงทุนสูงสุด

Biotrix กับการบริการที่ครบวงจร

-           เรารับเหมาก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพหรือโรงงานไบโอแก๊สทั้งระบบ(Turnkey) และระบบสัมปทาน(BOOT) ที่เป็นธรรม
-           ระบบจัดการงานวิศวกรรม งานจัดซื้อ การควบคุม (EPC) และติดตั้งครบวงจร
-           งานออกแบบวิศวกรรมโครงการ
-           การบริหารจัดการระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊ส (Operation)
-           การวางแผนการจัดการการผลิตที่เหมาะสม
-           งานแก้ไขซ่อมแซมโครงสร้างและปรับปรุงระบบ
-           การทดสอบและวางระบบก๊าซชีวภาพ
-           ระบบการผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วมและปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพไบโอแก๊ส
-           การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการการผลิตก๊าซชีวภาพ
-           การทดสอบในห้องปฏิบัติการทดลองและการสร้างระบบต้นแบบ
-           การให้คำปรึกษาและดำเนินการกลไกลการพัฒนาที่สะอาด (CDM)

Biotrix กับเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ด้วยประสบการณืในการออกแบบและการบริหารจัดการระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สที่หลากหลายและได้รับการยอมรับจากสากล Biotrix พร้อมที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำระบบที่เหมาะสมที่สุดตามคุณสมบัติและปริมาณของเสียของแต่ละแหล่งกำเนิดให้กับท่าน เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับผลตอบแทนสูงสุด Biotrix จะทำให้ท่านเปลี่ยนความคิดจากการยึดติดกับเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพเพียงระบบใดระบบเดียว เพราะของเสียที่ใช้เป็นวัตถดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน ย่อมมีคุณสมบัติและมีองค์ประกอบทางกายภาพต่างกันด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเลือกเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพให้เหมาะสมกับของเสียนั้นด้วย Biotrix มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและประสบการณ์ที่ได้รับการยอมรับในด้านการออกแบบและพัฒนาระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สในระดับสากล เราสามารถทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด
Biotrix ไม่เคยหยุดนิ่งจากการวิจัยและพัฒนาระบบไบโอแก๊ส เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซชีวภาพ เราพยายามหาหนทางในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาระบบการจัดการของเสียอย่างสมบูรณ์ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ลงทุน ควบคู่ไปกับการรับษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนดังนี้

-           Flexible Liner Reactors (FLRs)
-           Upflow Anaerobic Sludge Blanket (UASB) System
-           Expanded Bed Digesters
-           High Rate Systems
-           Hybrid Bioreactors
-           Continuously Stirred Tank Reactors (CSTR)

Biotrix คือผู้เชี่ยวชาญด้าน Biogas
Biotrix มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานและการพัฒนาระบบการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอแก๊สจากกระบวนการ หรือเทคโนโลยี การใช้แบคทีเรียย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Systems) ทั้งของเสียจากภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และของเสียจากชุมชม ดังนี้
-           ไบโอแก๊สที่ได้จาก น้ำเสียจากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
-           ไบโอแก๊สที่ได้จาก น้ำเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอล
-           ไบโอแก๊สที่ได้จาก น้ำเสียจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์ม
-           ไบโอแก๊สที่ได้จาก กากของเสียในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
-           ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากการปศุสัตว์
-           ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร
-           ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มอื่นๆ
-           ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากการฝังกลบขยะ
-           ไบโอแก๊สที่ได้จาก ของเสียจากชุมชุนที่จัดเก็บโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.)